ประวัติสมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตบำบัดแนวซาเทียร์
ลูกศิษย์ของ Virginir Satir ท่านแรกที่เข้ามาสอนในประเทศไทยคือ อาจารย์ Bunny S Duhl และมีอาจารย์เข้ามาสอนให้กับอาจารย์มหาวิทยาลัยรามคำแหงตั้งแต่ พ.ศ. 2536 โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เชิญอาจารย์ Maria Gomori มาสอน Family Counseling and Therapyในพ.ศ. 2540 แต่ Model นี้ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก
ต่อมา พญ.สมรัก ชูวาณิชวงศ์ ได้เข้าร่วมการอบรม Satir Therapy ที่ประเทศฮ่องกง และได้ติดต่อ Dr. John Banmen ให้มาสอนที่ประเทศไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในปี พ.ศ.2542
ในปี พ.ศ. 2543 กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย นำโดยพญ.สมรัก ชูวาณิชวงศ์ และ ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ได้เชิญ Dr. John Banmen มาสอนให้กับจิตแพทย์ในประเทศไทย จึงทำให้ Satir model เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในหมู่จิตแพทย์ และขยายสู่ผู้สนใจในวงกว้าง จนเกิดการอบรมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาหลักสูตร Train the Trainer ครั้งแรก เมื่อวันที่ 25-29 มิถุนายน 2545 เพื่อสร้างผู้ที่จะสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน Satir model ให้กับผู้สนใจในประเทศไทยต่อไปได้ ทีมผู้บุกเบิกได้เริ่มกิจกรรมการสอน Satir Model ใน พ.ศ. 2547
ทีมผู้บุกเบิก Satir model ในระยะแรก เห็นความสำคัญในการสร้างชุมชนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จึงริเริ่มในการจัดตั้งสมาคมฯ ขึ้น และได้จดทะเบียนจัดตั้งสมาคมในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และจดทะเบียนเป็นสมาคมสำเร็จในวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 จากการดูตัวอย่างขององค์กร Satir ในประเทศฮ่องกง โดยมี ศ.พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก
ปัจจุบัน สมาคมฯ ได้จัดการฝึกอบรมการให้คำปรึกษา และการทำจิตบำบัดตามแนวซาเทียร์มาอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรอบรมหลักได้แก่ การอบรมนักบำบัดในหลักสูตร Satir Transformational Systemic Therapy (STST) และยังมีการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นสำหรับผู้ที่สนใจ รวมถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการจัดประชุม Satir conference และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสร้างชุมชนผู้ที่สนใจการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ตามแนวซาเทียร์มาอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ของสมาคมฯ
- สนับสนุน ส่งเสริมความก้าวหน้าทางด้านความรู้ การศึกษาวิจัย และกิจกรรมที่เกี่ยวกับการทำจิตบำบัดแนวซาเทียร์ เพื่อให้บุคคลได้มีการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพมนุษย์
- เผยแพร่ความรู้ จัดการอบรม และให้คำแนะนำแนวคิดแบบซาเทียร์ แก่บุคลากรทางสุขภาพกาย และสุขภาพจิต และ ประชาชนทั่วไป เพื่อให้บุคคลต่าง ๆ ได้เข้าใจ และสามารถพัฒนาตนให้เติบโตและ เจริญก้าวหน้า ทั้งในด้านชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน
- สร้างเสริมคุณภาพ ผู้ฝึกอบรม ในประเทศไทย
- แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในหมู่สมาชิก
- เป็นตัวกลางติดต่อประสานงานระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งใน และนอกประเทศ
- ร่วมมือกับองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศ เพื่อดำเนินการศึกษา ป้องกัน และลดปัญหาครอบครัวและสังคมที่เกิดจากจิตใจ
ทั้งนี้ สมาคมฯ มิได้จัดตั้งเพื่อดำเนินการใดๆ เพื่อแสวงหาผลกำไร ตลอดจนไม่ทำให้เสื่อมเสียศีลธรรม จารีตประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ
การก่อตั้งสมาคมฯ
อาจารย์ Dr. John Banmen ได้มาสอน Satir Model ในประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอเกือบทุกปี โดยมีศ. พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ และ พญ. สมรัก ชูวาณิชวงศ์ เป็นหลักในการผลักดัน โดยมีการสนับสนุนจากผู้บริหารกรมสุขภาพจิตในยุคนั้นคือ นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิตในขณะนั้น และ ผู้อำนวนการโรงพยาบาลศรีธัญญาในช่วงนั้น (นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ และ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต) ในช่วงหลังอาจารย์ Dr. John Banmen ได้พาภรรยาคืออาจารย์ Kathlyne Maki Banmen มาร่วมสอนในปี 2548 และท่านได้กลายเป็นผู้สอนหลักตั้งแต่นั้นมา
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ
1. ศ. พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ ดำรงตำแหน่ง พศ. 2548 – 2553
2. พญ.สมรัก ชูวาณิชวงศ์ ดำรงตำแหน่ง พศ. 2553 – 2560
3. ผศ.พญ.วรลักษณา ธีราโมกข์ ดำรงตำแหน่ง พศ. 2560 – 2562
Supervisor ของสมาคมฯ
สมาคมได้ทำการฝึกอบรม supervisor โดยอาจารย์ Dr. John Banmen และอาจารย์ Kathlyne Maki Banmen จะใช้เวลา 1 วันก่อนเริ่มการอบรม STST ในการฝึกสอน supervisor ทุกครั้ง ผู้ที่เคยทำหน้าที่ Supervisor ของสมาคมฯ ในหลักสูตร STST มีรายนามดังนี้
1. ศ.เกียรติคุณ พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ
2. รศ.นพ.ณรงค์ สุภัทรพันธ์
3. นางทัศนีย์ ตันทวีวงศ์
4. ผศ.พญ.วรลักษณา ธีราโมกข์
5. ศ.พญ.สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล
6. พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์
7. รศ.พญ.รัตนา สายพานิชย์
8. รศ.พญ.สุวรรณี พุทธิศรี
9. รศ.พญ.ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ
10. รศ.พญ.นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล
11. พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ
12. ภญ.ศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา
13. นางสาวสุจิตรา อุสาหะ
14. นพ.วีรพล อุณหรัศมี
15. นพ.อนันต์ ธนาประเสริฐกรณ์
16. รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์
17. พญ.รักสุดา กิจอรุณชัย
18. รศ.นพ.พิชัย อิฏฐสกุล
19. พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง
20. ผศ.(พิเศษ)พญ.ปราณี เมืองน้อย
21. ดร.สดใส คุ้มทรัพย์อนันต์
22. พญ.เกษศิริ เหลี่ยมวานิช
23. พญ.แพรว ไตลังคะ
24. นางสาวพยงค์ศรี ขันธิกุล
25. นายชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ
26. พญ.โชติมา ครบตระกูลชัย
Trainer ของสมาคมฯ
1. พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ
2. ภญ.ศิริวรรณ ทวีวัฒนปรีชา
3. รศ.พญ.นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล
4. ผศ.พญ.วรลักษณา ธีราโมกข์
5. รศ.พญ.รัตนา สายพานิชย์
6. รศ.นพ.พิชัย อิฏฐสกุล
7. พญ.สมรัก ชูวานิชวงศ์
8. ศ.เกียรติคุณ พญ.นงพงา ลิ้มสุวรรณ
9. รศ.พญ.สุวรรณี พุทธิศรี
10. ผศ.ดร.มณฑล สรไกรกิติกูล
11. นายชัยยศ จิรพฤกษ์ภิญโญ
12. ผศ.(พิเศษ)พญ.ปราณี เมืองน้อย
13. พญ. ธัญญา ลีลาศิริวงศ์
14. นายอรรณพ มิ่งขวัญ
15. รศ.พญ.วรุณา กลกิจโกวินท์
16. พ.ท.หญิง อิงอร อัศวเทพเมธา