หลักสูตร STST (Satir Transformational Systemic Therapy)


คลิปแนะนำหลักสูตร STST

 

 


STST (Satir Transformational Systemic Therapy)

 

การพัฒนารูปแบบการบําบัดรักษา และพัฒนาศักยภาพการให้บริการของบุคลากรเป็นสิ่งที่มีความจําเป็น ต่อการให้บริการที่ตอบสนองต่อปัญหาของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย การบําบัดเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบแบบซาเทียร์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสําหรับบุคลากร ที่สามารถนําไปใช้ทําจิตบําบัดได้ดีทั้งรายบุคคล และครอบครัว โดยเน้นที่การเชื่อมโยงกับตนเองและการเจริญเติบโตส่วนบุคคล ผ่านการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง มีเป้าหมายในการบําบัด 4 ข้อ ดังนี้
1. ช่วยให้บุคคลนั้นมีความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโลกภายในของตนเองกับคนอื่นและสิ่งแวดล้อม
2. ช่วยให้บุคคลนั้นมีความรับผิดชอบในตนเองทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด ความคาดหวังและการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
3. ช่วยให้บุคคลนั้นเกิดการตระหนักรู้ในคุณค่าตนเอง เกิดความภาคภูมิใจ
4. ช่วยให้บุคคลนั้นมีความหวังเห็นทางเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงตนเองมากกว่าจะมุ่งเปลี่ยนแปลงคนอื่นหรือสิ่งแวดล้อม

การที่บุคลากรจะสามารถให้การบําบัดโดยใช้จิตบําบัดแบบซาเทียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จําเป็นต้องได้รับการเพิ่มพูนความรู้จิตบําบัดตามแบบซาเทียร์ร่วมกับการฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ตามที่หลักสูตรกําหนดไว้

สมาคมพัฒนาศักยภาพมนุษย์และจิตบําบัดแนวซาเทียร์ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมนักจิตบําบัดแบบซาเทียร์ขึ้น เพื่อให้บุคลากรที่ได้รับการอบรมนําแนวคิด Satir’s Model ไปให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตต่อไป


วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้บุคลากรที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด Satir’s Model
2. เพื่อเสริมสร้างทักษะในการทําจิตบําบัดตามแนวซาเทียร์


กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ที่ประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับการดูแลทางด้านจิตใจ เช่น จิตแพทย์ แพทย์ประจําบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ สาขาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น พยาบาลเฉพาะทางจิตเวช นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ


กระบวนการฝึกอบรม 

จัดอบรมต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งประกอบด้วย
1. การอบรม 5 วัน (Workshop classroom sessions) จำนวนทั้งหมด 4 ครั้ง (ห่างกันครั้งละประมาณ 6 เดือน)
2. การฝึกปฏิบัติทําระยะละ 5 ครั้ง หลังการอบรมทุกครั้ง โดยเป็นจิตบําบัดในกลุ่ม (Trio Practice) ติดต่อกันต่อทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 เดือน รวมทั้งหมด 20 ครั้ง พร้อมรายงานผล
3. การพบอาจารย์ที่ปรึกษา (clinical supervision) เพื่อพัฒนาทักษะการทําจิตบําบัด ติดต่อกันทุกเดือน หลังการอบรมทุกครั้ง เดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง เป็นระยะละ 5 เดือน รวมทั้งหมด 20 ครั้ง พร้อมรายงานผล
4. การฝึกปฏิบัติจริงในงานที่รับผิดชอบ (practicum) ในสถานที่ปฏิบัติงานจริงของผู้เข้ารับการฝึกอบรมพร้อมบันทึกสรุปการทําจิตบําบัดของผู้รับบริการ