จริยศาสตร์ในการบำบัด

 

ตอนที่ 1 ผู้ทำการบำบัด

ในวิชาชีพที่ทำงานด้านสุขภาพจิต วิชาจริยศาสตร์เป็นวิชาสำคัญที่ต้องเรียนแต่ในการสอนการให้การช่วยเหลือตามแนวซาเทียร์ บางครั้งผู้สอนก็ข้ามการสอนจริยธรรมไปเพราะคิดว่าเรียนกันแล้ว แต่ในวิชาชีพที่ไม่ได้เรียนวิชาจริยศาสตร์มาอาจต้องมีการทำความเข้าใจ จริยธรรมในด้านที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดนอกจากการต้องรักษาความลับของผู้รับบริการยังมีข้ออื่นๆที่น่าสนใจดังนี้

1. การที่เราจะให้การบำบัดใครนั้นข้อแรกต้องพิจารณาตนเองก่อนว่ามีคุณสมบัติในการทำบำบัดหรือไม่เรามีคุณวุฒิทางวิชาชีพในการเป็นผู้บำบัดมีความสามารถ ในทางกฎหมายที่จะบำบัด(ใบประกอบวิชาชีพ)หรือไม่เรามีความรู้เพียงพอ ที่จะบำบัดหรือไม่ เช่นเราจะมองออกไหมว่าคนที่คุยกับเราป่วยทางจิต และต้อง พบมืออาชีพอาการอย่างไรที่จะอันตรายต่อการสติแตกหรือป่วยมากขึ้น หากทำการบำบัดแล้วอาการแย่ลงหรือมีปัญหา เรารับมือไหวหรือไม่หากติดขัดที่ข้อใดข้อหนึ่ง ก็จะเป็นอันตรายทั้งต่อตัวผู้รับและผู้ให้การบำบัดและอาจมีปัญหาทางกฎหมาย ตามมาได้ ผู้บำบัดต้องรู้ทันในความไม่รู้หรือข้อจำกัดของตนเอง เพื่อที่จะไม่ทำให้ เกิดอันตรายแก่ผู้อื่นและเพื่อไปพัฒนาตนเองต่อไป

2. ข้อถัดไป การแจ้งคุณวุฒิของผู้บำบัด ต้องทำตามความเป็นจริงการแอบอ้างในสิ่งที่ตนไม่มีสิทธิที่จะทำนั้นผิดทั้งจริยธรรมและกฎหมาย

3. ผู้บำบัดทุกคนพึงประเมินตนเองและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ระวัง rescuersyndrome หรือโรคเทวดานางฟ้านักกู้โลกที่อาจทำให้เรากระโจนเข้าไปบำบัดทุกคนในทุกกาลเทศะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ อย่างไม่เหมาะสม

4. ผู้บำบัดต้องรักษาความสัมพันธ์ให้เป็นความสัมพันธ์เชิงการบำบัดเท่านั้นการมีความสัมพันธ์ส่วนตัวจะมีผลเสียอย่างมากกับการบำบัด

5. การบำบัดทุกชนิดมีข้อจำกัด ไม่ใช่ของวิเศษที่จะช่วยกู้ชีวิตของทุกคนในโลกผู้บำบัดพึงระวังในการกล่าวอ้างโฆษณาคุณสมบัติของการบำบัดที่เกินจริง

ตอนที่ 2 ผู้รับการบำบัด

1. คนที่พูดคุยกับเรา เขายินยอมรับการบำบัดหรือไม่ เราจะถือวิสาสะบำบัดเลยนั้นไม่ถูกต้องตามจริยธรรมผู้รับบริการมีสิทธิที่จะทราบคุณวุฒิทางวิชาชีพ ของผู้บำบัดมีความสามารถในทางกฎหมายที่จะบำบัด(ใบประกอบวิชาชีพ) หรือไม่ผ่านการฝึกหัดบำบัดมามากน้อยเพียงใด ยังต้อง supervision อยู่หรือไม่การบำบัดมีข้อดีข้อเสียอย่างไร หากบำบัดแล้วเกิดผลร้ายเกิดขึ้นเราจะรับผิดชอบ ช่วยเหลือเขาอย่างไรบ้าง ผู้รับบริการควรได้รับข้อมูลว่าเขาสามารถปฏิเสธ การบำบัดได้ หากไม่ต้องการรับการบำบัด

2. การบำบัดเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้รับการบำบัด ไม่ใช่ผู้บำบัดและผู้บำบัดสามารถช่วยมองในมุมของผู้รับการบำบัดว่าเขาอาจมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งนี้ให้ประโยชน์สูงสุดกับเขาได้จริงหรือไม่ผู้บำบัดจึงต้องไม่ใช้โอกาสเช่นนี้เป็นการแสวงประโยชน์ให้กับตนเองจากความไม่รู้ของผู้อื่น

ตอนที่ 3 ความสัมพันธ์ในการบำบัด

ต้องระวัง dual relationship คือการมีความสัมพันธ์ทับซ้อน เช่นการไปบำบัดคนในครอบครัว พ่อแม่พี่น้อง เพื่อนสนิท นักเรียน ลูกน้อง ซึ่ง จะก่อให้เกิดความไม่เป็นกลางในการบำบัดทำให้การบำบัดไม่ได้ผล และผู้บำบัดอาจถือโอกาสหาประโยชน์จากอีกฝ่ายได้